หน้าเว็บไซต์หลัก
หัวข้อ   “ความคิดเห็นของประชาชนเรื่องการออก พ.ร.บ. นิรโทษกรรมแก่ผู้ชุมนุมทางการเมือง”
                  จากการที่พรรคภูมิใจไทยได้ยื่นเสนอร่าง พ.ร.บ. นิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำผิดเนื่องในการชุมนุมทางการเมือง
ระหว่างวันที่ 26 พ.ค.- 3 ธ.ค. 51 และวันที่ 26 มี.ค.-1 เม.ย. 52   โดยประธานรัฐสภาได้บรรจุเรื่องดังกล่าวเข้าสู่วาระ
การประชุมเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม ที่ผ่านมา  ก่อให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ในวงกว้างโดยมีทั้งฝ่ายที่เห็นด้วยและ
ไม่เห็นด้วย    ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) จึงได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในเรื่อง
ดังกล่าวขึ้น   โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 1,206 คน เป็นเพศชาย
ร้อยละ 49.4 และเพศหญิงร้อยละ 50.6  เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2552 สรุปผลได้ดังนี้
 
             1. ความคิดเห็นหากจะมีการออก พ.ร.บ.นิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำความผิดเนื่องในการชุมนุม
                 ทางการเมืองระหว่างวันที่ 26 พ.ค.- 3 ธ.ค. 51 และวันที่ 26 มี.ค.-1 เม.ย. 52 พบว่า


 
ร้อยละ
เห็นด้วย
( โดยให้เหตุผลว่า เพื่อสร้างความสมานฉันท์ ทำให้บ้านเมือง
   สงบสุข ให้ความยุติธรรมกับผู้กระทำผิดทุกฝ่ายโดยไม่เลือก
   ปฏิบัติ คนไทยด้วยกันควรอภัยให้กัน และอยากให้มาเริ่มต้น
   นับหนึ่งกันใหม่ )
33.4
ไม่เห็นด้วย
( โดยให้เหตุผลว่า ไม่ควรมีใครอยู่เหนือกฎหมาย คนทำผิดจะ
   ได้ใจและทำผิดต่อไปอีก เป็นการช่วยเหลือคนบางกลุ่มที่
   สร้างความเดือดร้อนเสียหายแก่ส่วนรวม เสียภาพลักษณ์
   ประเทศทำให้ประเทศไทยไม่น่าเชื่อถือในสายตาต่างชาติ
   จะเป็นประเด็นให้เกิดความขัดแย้งวุ่นวายตามมา และเชื่อว่า
   มีผลประโยชน์แอบแฝงที่ไม่ชอบมาพากล
)
66.6
 
 
             2. เมื่อถามว่าใครน่าจะเป็นผู้ที่ได้รับประโยชน์มากที่สุด หาก พ.ร.บ. นิรโทษกรรมฯ มีผลบังคับใช้
                 พบว่า


                   สำหรับผู้ที่ เห็นด้วย กับการออก พ.ร.บ. นิรโทษกรรมฯ ระบุว่าผู้ที่จะได้รับประโยชน์
                     มากที่สุด คือ


 
ร้อยละ
ประชาชน
66.7
กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.)
9.1
พรรครัฐบาล
6.8
กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ( นปช.)
6.1
ข้าราชการ ทหาร ตำรวจที่เกี่ยวข้อง
3.8
พรรคฝ่ายค้าน
1.5
อื่นๆ อาทิ ทุกฝ่าย นักการเมืองทุกคน
6.0


                   สำหรับผู้ที่ ไม่เห็นด้วย กับการออก พ.ร.บ. นิรโทษกรรมฯ ระบุว่าผู้ที่จะได้รับประโยชน์
                     มากที่สุด คือ


 
ร้อยละ
กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.)
22.1
กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ( นปช.)
17.9
พรรครัฐบาล
12.9
ประชาชน
10.3
ข้าราชการ ทหาร ตำรวจที่เกี่ยวข้อง
8.4
พรรคฝ่ายค้าน
6.7
อื่นๆ อาทิ ผู้อยู่เบื้องหลังเหตุการณ์รุนแรง นักการเมืองบางกลุ่ม และ
เจ้าของความคิดเรื่อง พ.ร.บ. นิรโทษกรรมฯ
21.7
 
 
             3. ผลที่น่าจะเกิดขึ้นหาก พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฯ ผ่านเป็นกฎหมายออกมามีผลบังคับใช้ พบว่า

 
ร้อยละ
จะเป็นการจุดชนวนและก่อให้เกิดความขัดแย้งในสังคมตามมา
62.5
จะช่วยลดความขัดแย้ง และสร้างความสมานฉันท์ปรองดองภายในชาติ
37.5


                        โดยผู้ที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับการออก พ.ร.บ. นิรโทษกรรมฯ มองเห็นผลที่จะ
                 เกิดขึ้นแตกต่างกันดังนี้

 
กลุ่มที่
เห็นด้วย
กับการออก
พ.ร.บ.
กลุ่มที่
ไม่เห็นด้วย
กับการออก
พ.ร.บ.
เฉลี่ยรวม
จะเป็นการจุดชนวนและก่อให้เกิด
ความขัดแย้งในสังคมตามมา
11.9
89.4
62.5
จะช่วยลดความขัดแย้งและสร้างความ
สมานฉันท์ปรองดองภายในชาติ
88.1
10.6
37.5
รวม
100.0
100.0
100.0
 
 
รายละเอียดในการสำรวจ
วัตถุประสงค์ในการสำรวจ:
                  เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร ในเรื่องการเสนอร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม
แก่ผู้ซึ่งกระทำความผิดเนื่องในการชุมนุมทางการเมืองของประชาชน ระหว่างวันที่ 26 พ.ค.- 3 ธ.ค. 51 และระหว่าง
วันที่ 26 มี.ค.-1 เม.ย. 52  รวมถึงผู้ที่ได้ประโยชน์และผลที่จะเกิดขึ้นตามมาหากมีการบังคับใช้ พ.ร.บ. ดังกล่าว  ทั้งนี้
เพื่อสะท้อนให้สังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบและนำข้อมูลไปใช้เพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวมต่อไป
 
ระเบียบวิธีการสำรวจ:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างประชาชนทั่วไปทุกสาขาอาชีพที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปและอาศัยอยู่ในเขต
กรุงเทพมหานคร  ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling)  โดยการสุ่มเขตการปกครอง
ทั้งเขตชั้นนอก ชั้นกลาง และชั้นใน  จากนั้นจึงสุ่มถนนและประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์อย่างเป็นระบบ  และใช้วิธี
เก็บข้อมูล   โดยการสัมภาษณ์แบบพบตัว ไ ด้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,206 คน  เป็นเพศชายร้อยละ 49.4  และเพศหญิง
ร้อยละ 50.6
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน
โดยเป็นข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบ
ความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล: 20 สิงหาคม 2552
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 21 สิงหาคม 2552
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:    
             ชาย
594
49.4
             หญิง
612
50.6
รวม
1,206
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 25 ปี
306
25.5
             26 – 35 ปี
312
25.9
             36 – 45 ปี
285
23.7
            46 ปีขึ้นไป
303
24.9
รวม
1,206
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
738
61.2
             ปริญญาตรี
387
32.1
             สูงกว่าปริญญาตรี
81
6.7
รวม
1,206
100.0
อาชีพ:
 
 
             ข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ
96
8.0
             พนักงาน / ลูกจ้าง บริษัทเอกชน
354
29.3
             ค้าขาย / ประกอบอาชีพส่วนตัว
303
25.1
             รับจ้างทั่วไป
180
15.0
             พ่อบ้าน แม่บ้าน เกษียณอายุ
63
5.2
             อื่นๆ อาทิ นักศึกษา อาชีพอิสระ ว่างงาน เป็นต้น
210
17.4
รวม
1,206
100.0
 
Vote:  ดีมาก(5) ดี (4) ปานกลาง(3) พอใช้ (2) แย่ (1)  
 ผลคะแนนVote              
 
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)
Email: bangkokpoll@bu.ac.th      โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776